forex trading logo

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับฯ
Written by ดร.ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์   

ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกิน

หนึ่งแสนและศูนย์โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย: นางมัลลิกา  ศิริเพ่งไพฑูรย์

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งสุ่มมาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์โดยใช้ทฤษฎี       พหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  (3) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยผู้วิจัยกำหนดเป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์ให้สูงขึ้น ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์ ดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อทราบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน

การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และการดำเนินการใช้รูปแบบการเรียนการสอน         ที่พัฒนาขึ้น คือ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน    กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มของค่าเฉลี่ย โดยการหาค่าที (Dependent t-test and Independent t-test) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การอภิปรายและสรุปผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์ โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า

1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์ โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่าเท่ากับ 0.89 นับว่าเป็นรูปแบบที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ แสดงว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์, ทฤษฎีพหุปัญญา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 



ภาควิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ถนนมาลัยแมน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140